วันพฤหัสบดีที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2557


โครงงานคอมพิวเตอร์

เรื่อง โรคมะเร็ง (Cancer)

จัดทำโดย

                                                1. นาย อภิชัย               ละเขียด             เลขที่ 5

                                                2. นาย วุฒิชัย               ไชยกูล             เลขที่ 9

                                                3. นาย อรรนพ             โต๊ะบู                  เลขที่ 10

                                                4. นางสาว กุลวดี           เกสโร              เลขที่ 15

                                                5. นางสาว  ทินารัตน์    กุมพาณิชย์     เลขที่ 25

                                                6. นางสาว  กชกร         ดิษระคะโน      เลขที่ 27


อาจารย์ที่ปรึกษา

อาจารย์  อรณี  จิเหม


โครงงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาโครงงานคอมพิวเตอร์ ง.30252

โรงเรียนกำแพงวิทยา  จ.สตูล

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 16




หัวข้อโครงงาน                    โรคมะเร็ง

ประเภทของโครงงาน        : การพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา

ผู้เสนอโครงงาน                  : 1. นาย อภิชัย                   ละเขียด              เลขที่ 5
                                              2. นาย วุฒิชัย                  ไชยกูล                  เลขที่ 9
                                              3. นาย อรรนพ                 โต๊ะบู                      เลขที่ 10
                                              4. นางสาว กุลวดี             เกสโร                     เลขที่ 15
                                              5. นางสาว  ทินารัตน์      กุมพาณิชย์            เลขที่ 25
                                              6. นางสาว  กชกร            ดิษระคะโน            เลขที่ 27

ครูที่ปรึกษาโครงงาน          : ครู อรณี จิเหม

ปีการศึกษา                           : 2557



บทคัดย่อ

               ''โรคมะเร็ง''นี้เป็นโครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา (Education Media Development) ลักษณะเด่นของโครงงานประเภทนี้ คือ เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการผลิตสื่อเพื่อการศึกษา ซึ่งผู้จัดทำจะBlogger ในการผลิตสื่อเพื่อการศึกษาเรื่อง “โรคมะเร็ง” เป็นเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาหลากหลาย โดยสามารถใช้เป็นเครื่องมือสื่อสาร การประกาศข่าวสาร การแสดงความคิดเห็น การเผยแพร่ผลงาน ในหลายด้านไม่ว่า อาหาร  เทคโนโลยี หรือข่าวปัจจุบัน




กิตติกรรมประกาศ

                โครงงานนี้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยความช่วยเหลืออย่างดียิ่งของ อาจารย์ อรณี  จิเหม อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน ที่ได้ให้คำแนะนำ และข้อคิดเห็นต่างๆมาโดยตลอด และ ขอขอบคุณ และขอบใจ ครอบครัวและเพื่อนๆของผู้จัดทำโครงงาน ที่คอยให้กำลังใจ และถามไถ่ความเป็นไปของโครงงานอยู่เสมอ ทำให้ผู้จัดทำโครงงานมีกำลังใจที่จะพัฒนาโครงการจนสำเร็จได้ ผู้จัดทำโครงงานขอขอบพระคุณมา ณ ที่นี้

                                                                                                     จัดทำโดย

                                                                                                1. นาย อภิชัย                     ละเขียด  
                                                                                                2. นาย วุฒิชัย                    ไชยกูล   
                                                                                                3. นาย อรรนพ                  โต๊ะบู    
                                                                                                4. นางสาว กุลวดี               เกสโร  
                                                                                                5. นางสาว  ทินารัตน์         กุมพาณิชย์
                                                                                                6. นางสาว  กชกร              ดิษระคะโน  




สารบัญ
เรื่อง                                                                                                                             หน้า

บทคัดย่อ
กิตติกรรมประกาศ

บทที่ บทนำ   
               แนวคิด ที่มา และความสำคัญ                                                                                                    
               วัตถุประสงค์                                                                                                                                                ขอบเขตของโครงงาน                                                                                                                
               
ผลที่คาดว่าจะได้รับ   
                                                                                                                  
บทที่ เอกสารที่เกี่ยวข้อง
                  ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศและอินเทอร์เน็ต                                                                  
               เว็บบล็อก (WebBlog)  
                                                                                                              
บทที่ 3 วิธีดำเนินงานโครงงาน      
                 วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือหรือโปรแกรมหรือที่ใช้ในการพัฒนา                                            
                 ขั้นตอนการดำเนินงาน 
                                                                                                               
บทที่ 4 ผลการดำเนินงานโครงงาน   
                 ผลการพัฒนาเว็บบล็อก                                                                                                                     
                 ตัวอย่างการนำเสนอหน้าเว็บบล็อก 
                                                                                       
บทที่ 5 สรุปผลการดำเนินงาน และข้อเสนอแนะ      
                   การดำเนินงานจัดทำโครงงาน                                                                                
                   สรุปผลการดำเนินงานโครงงาน                                                                                                                   ข้อเสนอแนะ    
                                                                                                                             
บรรณานุกรม

ภาคผนวก                                                                                                                    




บทที่ 1
บทนำ
สาระสำคัญของโครงงาน

     เทคโนโลยีทางการสื่อสาร เทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ ในปัจจุบัน เริ่มมีบทบาทในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ และมีส่วนช่วยสนับสนุนสื่อทางด้านการศึกษาอีกด้วยโดยสื่อสมัยใหม่นิยมเป็น สื่อการเรียนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เพราะ สะดวกรวดเร็วและเข้าถึงได้ง่ายมะเร็ง  เป็นกลุ่มโรคที่เกี่ยวข้องกับการเจริญของเซลล์ที่ผิดปกติ คือ เซลล์จะแบ่งตัวและเจริญอย่างควบคุมไม่ได้ ก่อเป็นเนื้องอกร้าย และรุกรานร่างกายส่วนข้างเคียง มะเร็งอาจแพร่กระจายไปยังร่างกายส่วนที่อยู่ห่างไกลได้ผ่านระบบน้ำเหลืองหรือกระแสเลือด ไม่ใช่ว่าเนื้องอกทุกชนิดจะเป็นมะเร็ง เพราะเนื้องอกไม่ร้ายไม่ลุกลามอวัยวะข้างเคียงและไม่กระจายไปทั่วร่างกาย มีมะเร็งที่ส่งผลต่อมนุษย์ที่ทราบแล้วกว่า 200 ชนิดดังนั้นกลุ่มของข้าพเจ้าจึงคิดทำโครงงานเกี่ยวกับการพัฒนาสื่อทางการศึกษาเรื่อง ''โรคมะเร็ง''โดยได้รวบรวมข้อมูล เนื้อหาความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งและจัดทำเป็นเว็บบล็อก   เพื่อเป็นประโยชน์กับบุคคลที่สนใจและรักสุขภาพของตนเอง


วัตถุประสงค์


1.  เพื่อศึกษาและพัฒนาเว็บบล็อก เรื่อง โรคมะเร็ง
2.  เพื่อเป็นสื่อทางการศึกษาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
3.   เพื่อเป็นประโยชน์กับบุคคลที่สนใจทั่วไป      


ขอบเขตการศึกษา
      ศึกษาโครงงานเกี่ยวกับ โรคมะเร็ง  เพื่อพัฒนาสื่อผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยใช้โปรแกรม Blogger นำเสนอ

ประโยชน์ที่ได้รับ

  1.  ได้ทราบสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคมะเร็ง
  2.  ได้ทราบวิธีการป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติตนที่ถูกต้องต่อไป
  3.  ได้สื่อทางการศึกษาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเกี่ยวกับโรคมะเร็ง



บทที่ 2
เอกสารและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง

      การพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา เรื่อง โรคมะเร็ง  คณะผู้จัดทำได้ศึกษาค้นคว้าเสนอเอกสารที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้

ทั่วไป

  โรคมะเร็ง (Cancer) เป็นโรคของผู้ใหญ่ แต่พบได้ในทุกอายุ ตั้งแต่เด็กแรกเกิดไปจนถึงผู้สูงอายุ โดยพบได้สูงในอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป ส่วนในเด็กพบน้อยกว่าในผู้ใหญ่ประมาณ 10 เท่า 
  
 โรคมะเร็งที่พบบ่อยของชายไทย เรียงจากลำดับแรก 10 ลำดับ ได้แก่ โรคมะเร็ง ตับ ปอด ลำไส้ใหญ่ ต่อมลูกหมาก ต่อมน้ำเหลือง เม็ดเลือดขาว กระเพาะปัสสาวะ ช่องปาก กระ เพาะอาหาร และหลอดอาหาร

  โรคมะเร็งพบบ่อยของหญิงไทย เรียงจากลำดับแรก 10 ลำดับ ได้แก่ โรคมะเร็ง เต้านม ปากมดลูก ตับ ปอด ลำไส้ใหญ่รังไข่ เม็ดเลือดขาว ช่องปาก ต่อมไทรอยด์ และมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
                  
     โรคมะเร็งพบบ่อยในเด็กไทย เรียงจากลำดับแรก 4 ลำดับ ได้แก่ โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง โรคเนื้องอก/มะเร็งสมอง และโรคมะเร็งนิวโรบลาสโตมา/Neuroblas toma (มะเร็งของประสาทซิมพาทีติก)

โรคมะเร็งคือโรคอะไร

       โรคมะเร็ง คือ โรคซึ่งเกิดมีเซลล์ผิดปกติขึ้นในร่างกาย และเซลล์เหล่านี้มีการเจริญเติบ โตรวดเร็วเกินปกติ ร่างกายควบคุมไม่ได้ ดังนั้นเซลล์เหล่านี้ จึงเจริญลุกลามและแพร่กระจายได้ทั่วร่างกาย ส่งผลให้เซลล์ปกติของเนื้อเยื่อ/อวัยวะต่างๆทำงานไม่ได้ จึงเกิดเป็นโรค และมีอาการต่างๆขึ้น และเมื่อเป็นมะเร็งของอวัยวะสำคัญ หรือ มะเร็งแพร่กระจายเข้าอวัยวะสำคัญ อวัยวะเหล่านั้นจึงล้มเหลว ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ เป็นสาเหตุให้เสียชีวิตในที่สุด ได้แก่ ปอด ตับ สมอง ไตกระดูก และไขกระดูก

โรคมะเร็งต่างจากเนื้องอกอย่างไร


       โรคมะเร็งต่างจากเนื้องอกที่ ก้อนเนื้อ หรือ แผลมะเร็ง โตเร็ว ลุกลามเข้าอวัยวะข้างเคียง เข้าต่อมน้ำเหลือง และแพร่กระจายเข้าหลอดเลือด/กระแสโลหิต/กระแสเลือด และหลอดน้ำ เหลือง/กระแสน้ำเหลือง ไปยังเนื้อเยื่อ/อวัยวะต่างๆได้ทั่วร่างกาย โดยมักแพร่สู่ ปอด ตับ สมอง กระดูก และไขกระดูก ดังนั้นโรคมะเร็งจึงเป็นโรคเรื้อรัง รุนแรง มีการรักษาที่ซับซ้อนและต่อเนื่อง

โรคเนื้องอก ได้แก่ มีก้อนเนื้อผิดปกติ แต่โตช้า ไม่ลุกลามเข้าเนื้อเยื่อ/อวัยวะข้างเคียง เพียงกด หรือ เบียดเมื่อก้อนโตขึ้น ไม่ลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลือง ไม่แพร่กระจายทางกระแสโล หิต และทางกระแสน้ำเหลือง จึงเป็นโรคมักรักษาได้หายโดยเพียงการผ่าตัด

โรคมะเร็งเกิดได้อย่างไร

         สาเหตุของโรคมะเร็งยังไม่ชัดเจน แต่แพทย์พบปัจจัยเสี่ยงได้หลายปัจจัยเสี่ยง และเชื่อว่า สาเหตุน่ามาจากหลายๆปัจจัยเสี่ยงร่วมกัน โอกาสเกิดจากปัจจัยเดียวพบได้น้อยมาก โดยปัจจัยเสี่ยงสำคัญของโรคมะเร็ง ได้แก่

-     มีพันธุกรรมผิดปกติ เป็นได้ทั้งพันธุกรรมที่ถ่ายทอดได้ หรือ พันธุกรรมชนิดไม่ถ่ายทอด
-      สูบบุหรี่
-      ดื่มสุรา
-      ขาดสารอาหาร
-       ขาดการกินผัก และผลไม้
-       กินอาหารไขมัน และ/หรือ เนื้อแดงสูงต่อเนื่อง เป็นประจำ
-       การสูดดมสารพิษบางชนิดเรื้อรัง เช่น สารพิษในควันบุหรี่ (สารก่อมะเร็ง หรือ สัมผัสสารก่อ            มะเร็ง (Carcinogen http://en.wikipedia.org/wiki/carcinogen) อย่างต่อเนื่องโดย เฉพาะใน  ปริมาณสูง
-        ร่างกายได้รับโลหะหนักเรื้อรังจาก การหายใจ อาหาร และ/หรือ น้ำดื่ม เช่น สารปรอท
-        ติดเชื้อไวรัสบางชนิด เช่น ไวรัส เอชไอวี (HIV) ไวรัส เอชพีวี (HPV)
-        ติดเชื้อแบคทีเรียบางชนิด เช่น เชื้อเอชไพโลริในกระเพาะอาหาร (โรคติดเชื้อเอชไพโลไร)
-        ติดเชื้อพยาธิบางชนิด เช่น พยาธิใบไม้ตับ
-        การใช้ยาฮอร์โมนเพศต่อเนื่อง


โรคมะเร็งมีอาการอย่างไร

        
ไม่มีอาการเฉพาะของโรคมะเร็ง แต่เป็นอาการเช่นเดียวกับการอักเสบของเนื้อเยื่อ/อวัยวะที่เป็นมะเร็ง โดยที่แตกต่างคือ มักเป็นอาการที่เลวลงเรื่อยๆและเรื้อรัง ดังนั้นเมื่อมีอาการต่างๆนานเกิน 1-2 สัปดาห์ จึงควรรีบพบแพทย์ อย่างไรก็ตา อาการที่น่าสงสัยว่าเป็นมะเร็ง ได้ แก่
-               มีก้อนเนื้อโตเร็ว หรือ มีแผลเรื้อรัง ไม่หายภายใน 1-2 สัปดาห์หลังการดูแลตนเองในเบื้องต้น
-               มีต่อมน้ำเหลืองโต คลำได้ มักแข็ง ไม่เจ็บ และโตขึ้นเรื่อยๆ
-               ไฝ ปาน หูด ที่โตเร็วผิดปกติ หรือ เป็นแผลแตก
-                หายใจ หรือ มีกลิ่นปากรุนแรงจากที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
-                เลือดกำเดาออกเรื้อรัง มักออกเพียงข้างเดียว (อาจออกทั้งสองข้างได้)
-                ไอเรื้อรัง หรือ ไอเป็นเลือด
-                 มีเสมหะ น้ำลาย หรือ เสลดปนเลือดบ่อย
-                 อาเจียนเป็นเลือด
-                 ปัสสาวะเป็นเลือด
-                 ปัสสาวะบ่อย ขัดลำ ปัสสาวะเล็ด โดยไม่เคยเป็นมาก่อน
-                 อุจจาระเป็นเลือด มูก หรือ เป็นมูกเลือด
-                 ท้องผูก สลับท้องเสีย โดยไม่เคยเป็นมาก่อน
-                  มีเลือดออกทางช่องคลอดผิดปกติ หรือ มีประจำเดือนผิดปกติ หรือมีเลือดออกทางช่องคลอด                  ในวัยหมดประจำเดือนหรือ หลังมีเพศสัมพันธ์ทั้งที่ไม่เคยมีมาก่อน
-                   ท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นอึดอัดท้อง โดยไม่เคยเป็นมาก่อน
-                   มีไข้ต่ำๆหาสาเหตุไม่ได้
-                   มีไข้สูงบ่อย หาสาเหตุไม่ได้
-                   ผอมลงมากใน 6 เดือน มักตั้งแต่ 10%ขึ้นไปของน้ำหนักตัวเดิม
-                   มีจ้ำห้อเลือดง่าย หรือ มีจุดแดงคล้ายไข้เลือดออกตาผิวหนังบ่อย
-                   ปวดศีรษะรุนแรงเรื้อรัง หรือ แขน/ขาอ่อนแรง หรือ ชักโดยไม่เคยชักมาก่อน
-                   ปวดหลังเรื้อรัง และปวดมากขึ้นเรื่อยๆ อาจร่วมกับ แขน/ขาอ่อนแรง

แพทย์รู้ได้อย่างไรว่าผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็ง

      
แพทย์วินิจฉัยโรคมะเร็งได้จาก ประวัติอาการต่างๆของผู้ป่วย การตรวจร่างกาย การตรวจภาพเนื้อเยื่อ/อวัยวะที่มีอาการด้วยเอกซเรย์ หรือ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือ เอมอาร์ไอ แต่ที่ให้ผลแน่นอน คือ เจาะ/ดูดเซลล์จากก้อนเนื้อเพื่อการตรวจทางเซลล์วิทยา หรือ ตัดชิ้นเนื้อจากก้อนเนื้อเพื่อการตรวจทางพยาธิวิทยา (ตรวจโดยแพทย์เฉพาะทางพยาธิวิทยา)

โรคมะเร็งมีกี่ระยะ

      
ระยะโรคมะเร็ง คือ ตัวบอกความรุนแรงของโรค (การลุกลามและแพร่กระจาย) บอกแนว ทางการรักษา และแพทย์ใช้ในการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องกับโรคมะเร็ง
                โดยทั่วไปโรคมะเร็งมี 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1-4 ซึ่งทั้ง 4 ระยะ อาจแบ่งย่อยได้อีกเป็น เอ (A) บี (B) หรือ ซี (C) หรือ เป็น หนึ่ง หรือ สอง เพื่อแพทย์โรคมะเร็งใช้ช่วยประเมินการรัก ษา ส่วน โรคมะเร็งระยะศูนย์ (0) ยังไม่จัดเป็นโรคมะเร็งอย่างแท้จริง เพราะเซลล์เพียงมีลักษณะเป็นมะเร็ง แต่ยังไม่มีการรุกราน (Invasive) เข้าเนื้อเยื่อข้างเคียง
-         ระยะที่ 1: ก้อนเนื้อ/แผลมะเร็งมีขนาดเล็ก ยังไม่ลุกลาม
-        ระยะที่ 2: ก้อน/แผลมะเร็งขนาดใหญ่ขึ้น เริ่มลุกลามภายในเนื้อเยื่อ/อวัยวะ
-        ระยะที่ 3: ก้อน/แผลมะเร็งขนาดใหญ่ขึ้น เริ่มลุกลามเข้าเนื้อเยื่อ/อวัยวะข้างเคียง และลุกลามเข้า               ต่อมน้ำเหลือง      ที่อยู่ใกล้เนื้อเยื่อ/อวัยวะที่เป็นมะเร็ง
-        ระยะที่ 4: ก้อน/แผลมะเร็งขนาดโตมาก และ/หรือ ลุกลามเข้าเนื้อเยื่อ/อวัยวะข้างเคียง จนทะ ลุ และ/        หรือ เข้าต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ใกล้ก้อนมะเร็ง โดยพบต่อมน้ำเหลืองโตคลำได้ และ/หรือ มีหลากหลาย        ต่อม และ/หรือ แพร่กระจายเข้ากระแสโลหิต และ/หรือ หลอดน้ำเหลือง/กระแสน้ำเหลือง ไปยัง                เนื้อเยื่อ/อวัยวะที่อยู่ไกลออกไป เช่น ปอด ตับ สมองกระดูก ไขกระดูก ต่อมหมวกไต ต่อมน้ำเหลือง          ในช่องท้อง ในช่องอก และ/หรือ ต่อมน้ำเหลืองเหนือกระดูกไหปลาร้า


รักษาโรคมะเร็งได้อย่างไร

        
วิธีรักษาโรคมะเร็งในปัจจุบัน ได้แก่ ผ่าตัด รังสีรักษา ยาเคมีบำบัด ยาฮอร์โมน ยารักษาตรงเป้า รังสีร่วมรักษา และการรักษาประคับประคองตามอาการด้วยอายุรกรรมทั่วไป
การรักษาโรคมะเร็งอาจเป็นวิธีใดวิธีเดียว หรือ หลายวิธีร่วมกัน ทั้งนี้ขึ้นกับ
-          ระยะโรค
-          ชนิดของเซลล์มะเร็ง
-           เป็นมะเร็งของเนื้อเยื่อ/อวัยวะใด
-           ผ่าตัดได้หรือไม่ หลังผ่าตัด ยังคงหลงเหลือก้อนมะเร็งหรือไม่
-           ผลพยาธิวิทยาชิ้นเนื้อหลังผ่าตัดเป็นอย่างไร
-           อายุ และ   สุขภาพผู้ป่วย


มีวิธีตรวจคัดกรองโรคมะเร็งไหม

         
การตรวจคัดกรองโรคมะเร็ง คือ การตรวจให้พบโรคมะเร็งตั้งแต่ระยะยังไม่มีอาการ (มักเป็นมะเร็งในระยะ 0 หรือระยะ 1) ทั้งนี้เพราะโรคมะเร็งในระยะนี้ มีโอกาสรักษาได้หายสูงกว่าโรคมะเร็งในระยะอื่นๆ
       การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งที่มีประสิทธิภาพ คือ การตรวจที่เมื่อพบโรคแล้ว ภายหลังการรักษา ผู้ป่วยจะมีอัตรารอดจากโรคมะเร็งสูงขึ้น หรือมีอัตราเสียชีวิตจากโรคมะเร็งลดลงนั่นเอง
         ปัจจุบัน การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งที่มีประสิทธิภาพ คือ ตรวจคัดกรองโรค มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม และมะเร็งลำไส้ใหญ่ ส่วนการตรวจคัดกรองโรคมะเร็ง ตับ ปอด ต่อมลูก หมาก และรังไข่ ยังมีการถกเถียงกันอยู่ในหมู่แพทย์ ถึง ข้อดี ข้อเสีย และผลข้างเคียงจากการตรวจ รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการตรวจว่า เหมาะสมหรือไม่ อย่างไร และควรให้การตรวจเฉพาะกับบุคคลกลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งเหล่านี้ หรือให้การตรวจได้กับคนทั่วไป

มีวิธีป้องกันโรคมะเร็งไหม

ปัจจุบัน วิธีป้องกันโรคมะเร็งที่ดีที่สุด คือ หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง ที่หลีกเลี่ยงได้ ดังกล่าวแล้ว ซึ่งที่สำคัญ คือ
-            กินอาหารมีประโยชน์ครบทั้ง 5 หมู่ทุกวัน ในปริมาณที่เหมาะสม คือ ไม่ให้อ้วนหรือ ผอม เกินไป               โดยจำกัดเนื้อแดงแป้ง น้ำตา ไขมัน เกลือ แต่เพิ่มผัก ผลไม้ให้มากๆ
-            ออกกำลังกายให้เหมาะสมกับสุขภาพ สม่ำเสมอ
-            รับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งชนิดมีประสิทธิภาพดังได้กล่าวแล้ว
-            หลีกเลี่ยงสารก่อมะเร็ง

จะพบแพทย์ขอตรวจโรคมะเร็งได้อย่างไร

การเตรียมตัวพบแพทย์เพื่อตรวจ และ/หรือ รักษา โรคมะเร็ง ได้แก่
-          เตรียมเอกสารสิทธิต่างๆให้พร้อม
-          เอกสาร/ยา/ผลตรวจต่างๆ/เอกซเรย์ เมื่อเคยรักษาโรคต่างๆมาก่อน รวมทั้งใบส่งตัวจากต้นสังกัด              หรือ จาก แพทย์ต้นสังกัด (เมื่อเป็นการส่งตัวรักษาต่อ)
-          ใส่เสื้อผ้า รองเท้า ที่สวมสบาย เปลี่ยน ถอดง่าย เพราะในการตรวจอาจต้องมีการเปลี่ยนเสื้อผ้า                รองเท้า
-          สมุดจดบันทึก เพื่อจดบันทึกสิ่งที่แพทย์แนะนำ หรือ ต้องการเพิ่มเติม รวมทั้งจดบันทึกคำถามต่างๆ          ที่ต้องการถามแพทย์
-           ญาติสายตรงอย่างน้อย 1 คน (สามี ภรรยา บิดา มารดา หรือ บุตรที่บรรลุนิติภาวะแล้ว) กรณีพบ                 แพทย์เพื่อการรักษา ทั้งนี้เพื่อร่วมปรึกษา รับฟัง และเซ็นยินยอมรักษา
-            งดอาหาร และน้ำดื่ม อย่างน้อย 8 ชั่วโมง เผื่ออาจมีการตรวจเลือดเพิ่มเติม

ผู้ที่มีโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็ง




          ทุกคนมีโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งได้ทุกคน เพราะปัจจุบันนี้สิ่งแวดล้อมมีพิษมาก ส่วนคนที่ประวัติในครอบครัวเป็นมะเร็งก็เพิ่มโอกาสเสี่ยงขึ้นไปอีก  ผู้ที่ชอบทานอาหารที่มีสารอนุมูลอิสระเยอะ เช่น ของร้อน ของทอด ของปิ้งย่างก็เพิ่มความเสี่ยงคูณเข้าไปอีก ทานผักที่ปนเปื้อนยาฆ่าแมลงก็คูณเพิ่มไปอีก  สำหรับคนที่ชอบทานปลาเพราะเป็นอาหารสุขภาพ แต่ปลาในปัจจุบันมีปรอทอยู่ทุกตัว ซึ่งความจริงแล้วเป็นไบโอเอ็กซ์ซีมูเลชั่น คือ โรงงานผลิตสารพิษเข้าสู่อากาศเมื่อฝนตกลงมาในดิน  แล้วดินชะล้างจากน้ำจืดแล้วลงไปสู่น้ำทะเล เพราะฉะนั้นตอนนี้ปลา 100% ที่มีสารปรอททุกตัวและมีมากน้อยต่างกัน ถ้าเป็นปลากินเนื้อ เช่น ปลากินปลาด้วยกัน ก็มีสารปรอทมากกว่าเนื่องจากภาวะ ไบโอเอ๊กซีมูเลท ที่สะสมเพิ่มขึ้น

เราจะมีวิธีสังเกตตัวเองอย่างไรว่าเป็นมะเร็ง

          มะเร็งไม่ว่าจะเกิดส่วนใดก็เกิดโรคตรงส่วนนั้น เช่น ถ้าเราปวดหัวบ่อยๆ ควรไปเอกซเรย์เพื่อสแกนสมองดูเนื้อมะเร็งที่เยื่อหุ้มสมอง มีอาการปวดท้องบ่อยๆ ทานยาแล้วยังไม่หายดีถ้าผ่านไปสัก 2-3 เดือนแล้วควรต้องไปตรวจเช็ค เพราะอาจจะกำลังเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารหรือมะเร็งตับอ่อนที่ทำให้เกิดการปวดในช่องท้อง

 ถ้ารู้ตัวว่าเป็นมะเร็งมีวิธีการรักษาอย่างไร


การผ่าตัดใช้ได้เฉพาะมะเร็งระยะเริ่มต้น
              
        การรักษามะเร็งปัจจุบันนี้ ไม่ว่าจะวิธีผ่าตัดเคมี ฉายแสงให้ฮอร์โมนต่างๆเหล่านี้ยังไม่ได้ผลที่ดีเท่าไหร่ มะเร็งในระยะต้นเมื่อผ่าตัดแล้วมักจะได้ผล คือ ระยะ 1-2 หายขาดได้ แต่ถ้าเป็นระยะท้ายๆ รักษาไม่ได้ผลเลย

         ปัจจุบันนี้เคยทีการรักษาครั้งใหญ่ โดยให้คนที่เป็นมะเร็งทั่วสหรัฐอเมริกาและออสเตรียรวมกันแล้วทำวิจัยดูความต่างระหว่างรักษากับไม่รักษามีผลต่างกันอย่างไร ซึ่งผลที่ออกมาต่างกันเพียงแค่ 5% เท่านั้น คือ มีโอกาสรอดเพิ่มขึ้นเพียง 5 % เท่านั้น

       การรักษามะเร็งในยุคปัจจุบัน ต้องบูรณาการ ทำแต่วิธีเดียวไม่ได้ ต้องร่วมกับการประกอบหลายๆอย่าง การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตตัวเอง บางรายอาจใช้เป็นการเปลี่ยนอาหารใหม่ บางรายใช้สมุนไพร ซึ่งก็แล้วแต่เทคนิคต่างๆ โดยเฉพาะที่สถาบันในประเทศเยอรมันที่เน้นการรักษามะเร็งครบวงจรบูรณาการ คือ ไม่เอาเฉพาะปัจจุบัน 4 อย่าง ก็มีส่วนที่เพิ่มเข้ามาด้วย เช่น การใช้ความร้อน รักษาด้านจิตใจ การรักษาด้วยภูมิต้านทานวิทยาซึ่งเป็นแนวใหม่ ปัจจุบันเรื่องของภูมิต้านทานเป็นการรักษาของอนาคต  หาวิธีเสริมภูมิต้านทานและไปกำจัดเชื้อมะเร็งด้วยตัวเอง

 ภูมิเสริมรักษามะเร็ง

             ภูมิเสริมมีอยู่หลายตัว เช่น ภูมิเสริมจากภายนอก สารสกัดจากเห็ดบางชนิด เห็ดของทิเบตก็มีตัวกระตุ้นภูมิ หรือใช้วิธีดึงภูมิในตัวเราที่ใช้ไม่ได้ดููดเลือดออกมาประมาณ 200cc หลังจากนั้นนำไปเลี้ยงให้แข็งแกร่งขึ้น เพราะไม่สามารถเลี้ยงในตัวได้ เพราะมะเร็งกดไว้อยู่ เมื่อเลี้ยงจนขนาดเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 100-1,000 เท่าให้แข็งแรงและดุต่อเชื้อมะเร็ง โดยการนำเชื้อมะเร็งมาทดสอบ  เมื่อแข็งแกร่งดีแล้วก็ใส่เข้าไปใหม่เป็นวิธีที่ญี่ปุ่นใช้กันเยอะมาก ซึ่งในเมืองไทยเราก็เริ่มมี

มีวิธีการตรวจพบมะเร็งตั้งแต่ระยะเริ่มต้นหรือไม่


              ปัญหาของการตรวจพบมะเร็ง คือ ตรวจพบในระยะสุดท้ายส่วนมาก การตรวจสุขภาพประจำปีช่วยได้บ้าง  แต่ถ้าช่วยได้มากคือการตรวจยีนส์เพื่อดูว่ามีโอกาสเป็นมะเร็งมากน้อยแค่ไหน ยีนส์กลายพันธ์หรือไม่ เพราะมีการกลายพันธุ์ของยีนส์ที่เกิดทีหลัง ซึ่งมีการตรวจได้สามารถเช็คระดับของยีนส์ เป็นการเกิดมะเร็งระยะสูง ซึ่งยังไม่มีการเกิดโรคมะเร็ง แต่เป็นการตรวจหาความผิดปกติในยีนส์

                แต่เป็นการตรวจที่ในเมืองไทยยังไม่คุ้นเคยแต่ในต่างประเทศเป็นแบบมาตรฐาน สำหรับคนที่มีประวัติครอบครัวต้องตรวจทุกคน  และสามารถเลือกได้ว่าจะตัดออกก่อนหรือรอลุ้นว่าเป็นมะเร็งหรือไม่  ซึ่งเป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลายแล้ว การตรวจยีนส์ในต่างประเทศเป็นเรื่องการมีข้อมูลเพิ่มขึ้น  ศึกษามากขึ้นและนำมาใช้เพื่อให้ชีวิตคนดีขึ้นในแนวป้องกันไม่ให้เกิดก่อน

วิธีการป้องกันมะเร็งซึ่งเรารู้สาเหตุของมะเร็งเกิดจาก 2 สาเหตุ

1. ปัจจัทางสิ่งแวดล้อม แต่ในสื่งแวดล้อมเหล่านั้นเป็นสิ่งที่ป้องกันได้ส่วนใหญ่ เช่น การติดเชื้อ ถ้าหากเราหลีกเลี่ยงการไปในที่ชุมชน ลดโอกาสเซลล์ในร่างกายโดนโจมตีด้วยภูมิต้านทาน คือ ปฏิบัติตัวให้ดี ตื่นเช้าออกกำลังกาย นอนหลับเพียงพอ บางรายนอนดึกตื่นมาเจ็บคอ เพราะเชื้อไวรัส แบคทีเรีย เชื้อราเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดมะเร็ง ทำให้เซลล์กลายพันธุ์ เพราะเชื้อเหล่านี้เมื่อภูมิตก เชื้อที่ซ่อนเร้นอยู่ในตัวคอยโจมตีแบบกองโจร  ภูมิต้านทานมองไม่เห็นผ่านไปแค่ไม่เกิน 15 ปีก็เป็นมะเร็ง
2. เรื่องของสารพิษ อาหารที่ทาน อากาศที่หายใจเข้าไป ถ้าเลือกได้ต้องเลือกในการป้องกันไม่ให้สารพิษเหล่านี้เข้าสู่ตัวเรา วิธีการปรุงอาหารก็เช่นกัน อาหารที่ปรุงด้วยความร้อนทุกชนิดโดยเฉพาะความร้อนที่สูงขึ้นมากเท่าไหร่  เนื้อเยื่อของอาหารจะกลายและเปลี่ยนเป็นสิ่งที่ก่อมะเร็งได้ แม้กระทั่งของดีๆก็เช่นกัน เช่น หมู นำไปทอดมีโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งมากที่สุด แต่ถ้านำไปนึ่งก็ลดความเสี่ยงลงมา นำไปตุ๋นข้ามคืนแต่ปรากฏว่าทอดแค่ 10 นาทีมีโอกาสสูงกว่าหมูตุ๋นทั้งคืนเพราะความร้อนต่ำไม่ก่อให้เกิดสารโพลิเมอร์

     ในแต่ละปีมีผู้ป่วยรายใหม่ที่เป็นมะเร็งปีละกว่า 100,000 รายซึ่งไม่รวมกับผู้ป่วยเก่าเป็นจำนวนที่เยอะมาก แต่มะเร็ง คือ เนื้อเยื่อ เซลล์ต่างๆของเรา ไม่ว่าจะในเลือด กระดูก สมอง หรือส่วนต่างๆก็ตาม แต่เมื่อเป็นมะเร็งก็จะกลายเป็นสิ่งแปลกปลอมที่ไม่เหมือนเดิมกลายเป็นเซลล์ผิดปกติแล้วขยายตัวเพิ่มขึ้น  กินเซลล์เก่าให้เหลือน้อยลงแล้วแทนที่เซลล์ใหม่ที่ใหญ่กว่าเดิมจนเมื่อร่างกายสู้ไม่ไหวก็เสียชีวิต

หลักการรักษามะเร็งมีอยู่ 4 อย่างคือ 

1.ผ่าตัด เรารู้ว่ามะเร็งคือสิ่งผิดปกติทางพันธุกรรมในเซลล์แล้วขยายมากขึ้นๆ ซึ่งเราเรียกกันว่า เนื้องอก แก้ไขโดยไปตัดเนื้องอกออก แต่สำหรับมะเร็งในระยะต้นเพื่อให้หาย เพราะยังไม่แพร่ไปยังบริเวณอื่นแต่อยู่เฉพาะที่
2.การฉายรังสี เมื่อยิงรังสีเข้าไปจะไปทำงายเซลล์ในจุดที่รังสีโฟกัส ส่วนใหญ่มักใช้ประกอบกับการผ่าตัด เพราะเมื่อผ่าตัดแล้วบางส่วนอาจจะยังไม่หมด ก็ใช้วิธีฉายรังสีฆ่าเซลล์เหล่านั้นซ้ำอีกครั้งหนึ่ง  ซึ่งขึ้นอยู่กับแพทย์ว่าควรฉายรังสีแบบใดและก็แล้วแต่เซลล์ในแต่ละจุด
3.การให้คีโม เคมีบำบัดฉีดและกินเข้าไปเพื่อฆ่าเซลล์ที่มีการแบ่งตัวเยอะๆ เซลล์ที่มีการเจริญเติบโตมาก แต่ผลข้างเคียง คือ เซลล์ปกติที่มีการเจริญเติบโต เช่น เส้นผมก็โดนจัดการไปด้วย มีอาการเบื่ออาหาร ทานข้าวไม่ได้ ใช้ในรายที่มะเร็งกระจายไปหลายที่ไม่ได้อยู่จุดเดียว
4.ฮอร์โมน มะเร็งที่อยู่ในที่ที่สร้างฮอร์โมนจะใช้ตัวฮอร์โมนเข้าไปกำกับมะเร็งอีกทางหนึ่ง แต่ไม่ว่าจะเป็นวิธีไหนก็ทรมานเหมือนกัน

อาหารต้านมะเร็ง


 ถ้าเป็นข้าวให้ทานเป็นข้าวซ้อมมือ เพราะข้าวขัดขาวสารอาหารจำนวนมากที่อยู่ตรงเปลือกข้าวถูกขัดออกไป ให้พยายามใช้วิถีชีวิตใกล้ชิดธรรมชาติ ไม่เฉพาะแค่อาหาร เหล้า เครื่องดื่ม อาหารรสจัดทั้งหลายให้หลีกเลี่ยง

 มะเร็งกับสภาวะจิตใจ


          ส่วนที่สำคัญอีกคือด้านจิตใจ ถ้าใจของเราอยู่ในบุญหมั่นนั่งสมาธิ(Meditation)มากๆ พอใจใสจะมีพลังร่างกายจะทำงานอย่างสมดุลและไปจัดการกับเซลล์มะเร็งได้เอง  เพราะร่างกายมีระบบคุ้มกันตัวเองอยู่แล้ว เหมือนทหารถ้าอ่อนแอข้าศึกบุก แต่ถ้าแข็งแรงก้เอาข้าศึกอยู่หมัด บางคนทำเช่นนี้คิดว่าตัวเองต้องเสียชีวิตแต่ปรากฏว่ามะเร็งดีขึ้นหรือหาย  เมื่อทำหลักการทางกายและใจถูกต้องร่างกายจัดการได้ รวมทั้งต้องมีพลังใจและสู้ ฉะนั้นจะตายไม่ตายอยู่ที่ใจของเราทั้งหมด มะเร็งเป็นสิ่งที่คร่าชีวิตคนไปมากมาย ซึ่งบางคนอาจจะคิดว่าเป็นวิถีของชีวิตแต่เรื่องจริงแล้วไม่ใช่วิถีของชีวิตที่แท้จริง


สร้างเว็บบล็อก  (Blogger)

ขั้นตอนที่1  เข้าไปที่เว็บ http://www.blogger.com จะขึ้นหน้าจอตามรูป


ขั้นตอนที่ 2 จากนั้นทำการสมัคร (สำหรับบุคคลที่ยังไม่มี Gmail ) ถ้ามีแล้วให้ล๊อกอินได้เลย


ขั้นตอนที่ 3 ให้กรอกข้อมูลตามความเป็นจริง


ขั้นตอนที่ 4  คลิกที่ปุ่มสร้างบล๊อกใหม่


ขั้นตอนที่5   พอคลิกแล้วจะขึ้นตามรูปจากนั้นให้กรอกข้อมูลลงไป เลือกแม่แบบตามใจชอบ



ขั้นตอนที่ 6  คลิกปุ่มตามรูป


ขั้นตอนที่ 7  ใส่ข้อมูลต่างๆ



ขั้นตอนที่ 8  คลิกปุ่ม "แสดงตัวอย่าง" ถ้าชอบแล้วกดบันทึก



บทที่ 3
วิธีการดำเนินโครงงาน

วัสดุและอุปกรณ์

-           โปรแกรม Microsoft Word 2007
-            เว็บไซต์ที่ให้บริการคือ http://www.blogger.com/  
-            เว็บไซต์ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารคือ www.facebook.com  , www.gmail.com ,   www.google.com


วิธีการดำเนินโครงงาน

ที่
ขั้นตอนในการดำเนินงาน
ระยะเวลาในการดำเนินงาน
เดือนที่ 1
เดือนที่ 2
เดือนที่ 3
เดือนที่ 4
1
คิดชื่อหัวข้อโครงงาน

















2
ศึกษาค้นคว้ารวบรวมข้อมูล
















3
จัดทำเค้าโครงงานเสนออาจารย์ที่ปรึกษา
















4
ศึกษาโปรแกรม Blogger ในการสร้าง















5
ออกแบบสื่อBlogger
















6
จัดทำโครงงานสร้าง สื่อ Blogger เรื่องโรคมะเร็ง















7
นำเสนอผ่านโปรแกรม Blogger

















8
ทำเอกสารสรุปโครงงาน





















บทที่ 4
ผลการดำเนินงาน

ผลการดำเนินงาน

            การจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์การพัฒนาเว็บบล็อก (WebBlog)  เรื่อง  โรคมะเร็ง นี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเว็บบล็อก (WebBlog) และค้นคว้าเรื่องที่สนใจเกี่ยวกับโรคมะเร็ง เพื่อให้ผู้จัดทำโครงงานสามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับการเรียนรู้ของตนเองมากยิ่งขึ้น ตลอดจนสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ระหว่างครู เพื่อนและผู้สนใจทั่วไป  ซึ่งมีผลการดำเนินงานโครงงาน ดังนี้

4.1 ผลการพัฒนาเว็บบล็อก    


            การพัฒนาเว็บบล็อก (WebBlog) เรื่อง โรคมะเร็งนี้ ผู้จัดทำได้เริ่มดำเนินงานตามขั้นตอนการดำเนินงานที่เสนอในบทที่ 3 แล้ว แล้วได้สมัครเป็นสมาชิกเว็บบล็อกที่ชื่อ https://tinarat.blogspot.com/จากนั้นได้นำเสนอเผยแพร่ผลงานผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่สามารถเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา โดยได้นำเผยแพร่ที่เว็บบล็อกชื่อhttp://Tinarat.blogspot.com ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับสื่อสังคมในรูปแบบของ Social Media ประเภทเว็บไซต์ facebook ของผู้จัดทำที่ชื่อ Tinarat  Kumpanit ทั้งนี้เว็บบล็อกดังกล่าว สามารถจัดการและเชื่อมต่อกับเว็บไซต์อื่นๆ ได้เป็นอย่างดี โดยทั้งครูที่ปรึกษา เพื่อนๆในห้องเรียนได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ โดยแสดงความเห็นในเนื้อหาและรูปแบบของการนำเสนออย่างหลากหลาย ซึ่งทำให้เกิดการเรียนรู้และเป็นแหล่งเรียนรู้ในโลกออนไลน์อย่างหลากหลายและรวดเร็ว 

4.2  ตัวอย่างการนำเสนอหน้าเว็บบล็อก





บทที่ 5
สรุป   อภิปรายและข้อเสนอแนะ
การจัดทำโครงงานโรคมะเร็ง นี้สามารถสรุปผลการดำเนินโครงงาน และข้อเสนอแนะ ดังนี้

5.1     การดำเนินงานจัดทำโครงงาน

 5.1.1 วัตถุประสงค์ของโครงงาน
- เพื่อศึกษาและพัฒนาเว็บบล็อก เรื่อง โรคมะเร็ง
-  เพื่อเป็นสื่อทางการศึกษาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
-  เพื่อเป็นประโยชน์กับบุคคลที่สนใจทั่วไป    

5.2.2            5.1.2  วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือหรือโปรแกรมหรือที่ใช้ในการพัฒนา
-             -     โปรแกรม Microsoft Word 2010
-             -      เว็บไซต์ที่ให้บริการคือ http://www.blogger.com/  
-             -     เว็บไซต์ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารคือ www.facebook.com  , www.gmail.com ,   www.google.com

5.2 สรุปผลการดำเนินงานโครงงาน

         การพัฒนาเว็บบล็อก (WebBlog) เรื่อง โรคมะเร็ง นี้ ผู้จัดทำได้เริ่มดำเนินงานตามขั้นตอนการดำเนินงานที่เสนอในบทที่ 3 แล้ว แล้วได้สมัครเป็นสมาชิกเว็บบล็อกที่ชื่อ tinarat.blogspot.com  จากนั้นได้นำเสนอเผยแพร่ผลงานผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่สามารถเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา โดยได้นำเผยแพร่ที่เว็บบล็อกชื่อhttp://tinarat.blogspot.com ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับสื่อสังคมในรูปแบบของ Social Media ประเภทเว็บไซต์ facebook ของผู้จัดทำที่ชื่อ tinarat  kumpanit ทั้งนี้เว็บบล็อกดังกล่าว สามารถจัดการและเชื่อมต่อกับเว็บไซต์อื่นๆ ได้เป็นอย่างดี โดยทั้งครูที่ปรึกษา เพื่อนๆในห้องเรียนได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ โดยแสดงความเห็นในเนื้อหาและรูปแบบของการนำเสนออย่างหลากหลาย ซึ่งทำให้เกิดการเรียนรู้และเป็นแหล่งเรียนรู้ในโลกออนไลน์อย่างหลากหลายและรวดเร็ว

5.3 ข้อเสนอแนะ   
      
- เว็บไซต์ที่ให้บริการเว็บบล็อก คือ เป็นเว็บบล็อกสำเร็จรูปที่ใช้ทำเว็บไซต์ได้ง่าย และรวดเร็ว  แต่ถ้าเราใช้ประโยชน์ในทางที่ไม่ถูกต้องและไม่เหมาะสม  ก็จะส่งผลต่อการละเมิดลิขสิทธิ์และได้รับความรู้ที่ไม่ถูกต้อง   เพราะฉะนั้นผู้จัดทำควรเผยแพร่สิ่งที่ดี ๆ ให้บุคคลที่เข้ามาเยี่ยมหรือศึกษาได้ความรู้และสิ่งดี ๆ นำไปเผยแพร่ต่อให้ผู้อื่นมาศึกษาความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อไป
 
- ควรมีการจัดทำเนื้อหาของโครงงานให้หลากหลายให้ครบทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
 - ควรมีการจัดทำแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนเพิ่มเติม

5.4 ปัญหา อุปสรรค และแนวทางในการพัฒนา

 - เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่เพียงพอกับการทำโครงงาน และบางครั้งอินเทอร์เน็ตมีปัญหา เข้าพร้อมกันก็จะทำให้ช้า จึงทำให้การพัฒนาเว็บบล็อกเกิดความล่าช้าตามไปด้วย